วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

          ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
          - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
          - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

ด้านการบันเทิง
          - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
          - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
          - สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้


          จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
      
          1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
          2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
          3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
          4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
          5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
          6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
          7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
          8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

          โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

แหล่งอ้างอิง : http://blog.eduzones.com/banny/3734
 10 ประเทศที่หนาวที่สุดในโลก

1. แอนตาร์กติกา (Antarctica)
แอนตาร์กติกาเป็นประเทศที่หนาวที่สุดในโลก อุณหภูมิต่ำสุดติดลบ 89.2 องศา

2. สหรัฐอเมริกา (United States of America)
รัฐอลาสก้าในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีอุณหภูมิเย็นมาก และอุณหภูมิต่ำสุดสามารถติดลบ 62.2 องศา นอกจากนั้น
Washington เคยมีหิมะตกอย่างมหาศาล ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด หนา 1,100 นิ้ว

3. เกาะกรีนแลนด์ (Greenland)
อุณหภูมิสามารถลดลงต่ำที่สุดถึงติดลบ 9 องศา แม้กระทั่งในระหว่างเดือนที่
'ร้อนสุดๆ' จะสูงสุดเพียง 7 องศา
4. เอสโตเนีย (Estonia)
เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ  เอสโตเนียจะไม่ใช่น้ำแข็งทั้งหมด แต่แน่นอนก็ยังเย็นเกินไป ทั้งนี้เนื่องจากมีฝนตกได้ทุกเวลา ทำให้เกิดหิมะ และอุณหภูมิลดลง ไม่ว่าส่วนฤดูไหน


5. ฟินแลนด์  (Finland )
ฟินแลนด์มีหิมะปกคลุมประมาณปีละ 4 เดือน ในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิสามารถลดลงจนถึงลบ 20 องศา แลพแล็น (
Lapland ) เป็นพื้นที่ ที่หนาวที่สุดในประเทศ เพราะมีลมที่รุนแรง

6. แคนาดา (Canada)
แต่ละเมืองจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมของประเทศจะหนาวมาก โดยเฉพาะในชนบทที่มีทุ่งหญ้า
ที่เมือง Prairie อุณหภูมิในช่วงกลางวันอาจจะต่ำถึงลบ 15 องศา และลบประมาณ 39 องศาในเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังมีลมแรงมาก

7. รัสเซีย (Russia)
รัสเซียมีลมแรงมากตลอดทั้งปี ทำให้มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำมากตลอดทั้งปี ในเดือนมกราคม อุณหภูมิจะต่ำสุดประมาณลบ 27 องศาเซลเซียส และสูงสุดอยู่ที่ลบ 8 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 องศา

8. คาซัคสถาน (Kazakhstan)
แอสตานา (
Astana ) เป็นเมืองที่หนาวที่สุดในประเทศ และมีปริมาณน้ำฝนมาก เป็นไปไม่ได้ที่จะออกจากบ้านในช่วงฤดูหนาวโดยไม่สูญเสียนิ้วเท้า 1 หรือ 2 นิ้ว เพราะหิมะกัด

9. ไอซ์แลนด์ (Iceland)
ชื่อของประเทศมีคำว่า
'น้ำแข็ง' ก็บอกให้ทราบแล้วว่าต้องเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยไม่เคยเกิน 0 องศาเซลเซียส พื้นที่ตอนบน อุณหภูมิติดลบ 10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยเป็น ติดลบประมาณ 40 องศา

10. มองโกเลีย (Mongolia)
อุณหภูมิเฉลี่ยในมองโกเลียอยู่ น้อยกว่า 0 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูหนาว และสูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อยในเดือน เมษายน-ตุลาคม แต่ในเดือน มกราคม
กุมภาพันธ์ อุณหภูมิสามารถไปต่ำสุดที่เป็นลบ 20 องศาเซลเซียส
  
แหล่งอ้างอิง: http://top-10-list.org/2010/08/13/top-ten-coldest-countries/


 

ประวัตินายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา"

ประวัติ   

พระยามโนปกรณนิติธาดาชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดที่จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่
15 กรกฎาคม 2427 เวลา 11.20 น. เป็นบุตรของนายฮวดกับนางแก้ว หุตะสิงห์ สมรสกับ
คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา (นิตย์ สามเสน)
        เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ
วิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญวิทยาลัย และโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมตามลำดับ จนสำเร็จ
เป็นเนติบัณฑิตสยาม และต่อมาได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จเนติบัณฑิต
อังกฤษ จาก The Middle Temple
        หลังจากสำเร็จเนติบัณฑิตสยามได้เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรม และได้รับ
พระราชทานบรรดาศักดิ์ หลวงประดิษฐ์พิจารณ์การ จนกระทั่งได้เป็นสมุหพระนิติศาสตร์ และ
พระยามโนปกรณนิติธาดาในที่สุดใน
        ปี พ.ศ. 2461 ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาราชการในพระองค์
        เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ
ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475ได้มีการประชุม
คณะราษฎรครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2475 เวลา 14.00 น. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
และที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งพระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นประธานคณะกรรมการราษฎร ซึ่งเป็น
ตำแหน่งสูงสุดในการบริหารเทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน
        พระยามโนปกรณนิติธาดาได้ตำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎรอยู่จนถึง
วันที่ 9 ธันวาคม 2475 จึงได้ลาออก
        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่
10 ธันวาคม 2475 และพระยามโนปกรณนิติธาดาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ตามรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง
        ต่อมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณนิติธาดาได้กราบบังคมทูล
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
        เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476  พันเอก  พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้ายึดอำนาจ
จากรัฐบาล พระยามโนปกรณนิติธาดาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และย้ายไปพำนัก
อยู่ที่ปีนังเป็นเวลา 16 ปีเศษ และได้ถึงแก่อสัญกรรม ณ ที่นั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2491 รวมอายุได้
64 ปีเศษ

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศผ้านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2 รูปแบบ

จงกล่าวถึงรูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศผ้านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมา2รูปแบบ

การเผยแพร่สารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีหลายรูปแบบเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยตรงเช่น
1.การทำเว็บเพจ(WEB PAGE)
ฝากไว้ในเว็บไซต์วิธีนี้ผู้ที่ทราบURLของเว็บเพจนั้นจะสามารถเข้าอ่านเอกสารที่เผยแพร่ได้โดยตรงหรือหากไม่ทราบURLแต่สามารถระบุคำสำคัญที่มีอยู่ในเว็บเพจนั้น ก็อาจค้นหาผ่านโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลได้จึงเป็นวิธีที่สามารถคาดหวังผลได้มากที่สุด

2.บล็อก
เป็นการฝากข้อเขียนที่มีลักษณะคล้ายสมุดบันทึกส่วนบุคคล เรื่องราวที่เขียนนั้นจะไม่จำเป็นต้องเป็นบันทึกประจำวันเท่านั้น แต่จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่อยากเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้อ่าน

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

บทที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มี
ความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย 
เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
                ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบ
ต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ
เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก  การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้
ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดิทางผ่าน
เครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง  ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
                การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี
กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
             เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข  Arlene  H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก 
จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้

            จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
           ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย  ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบ
จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่     
บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด  จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธ
การรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม
                ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด
  • ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย
    (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
  • ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
  • พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่า
    ไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย
จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา
            บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำสั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา
เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
  • ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
    ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
  • ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้ง
    จะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้ 
    เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
  • หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ
    ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
  • ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น
จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

                ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์  (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม
บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing  lists
ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปราเรื่องต่าง ๆที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย
ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลกผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ  
ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
  • ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้
  • ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
  • ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
  • ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุก
    โดยขาดความรับผิดชอบ
  • จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
  • ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย
    โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก
  • ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า
  • การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ  ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต
    หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว
    เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
  • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจในการเน้น
    คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน
  • ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
  • ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
  • ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
  • ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
  • ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
  • เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
    • IMHO-in  my  humble /  honest  opinion
    • FYI-for  your  information
    • BTW-by  the  way
  • การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก
    และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
  • ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
  • ในการบอกรับข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน
    (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ
    เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก
         บัญญัติ 10 ประการ
        ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
1.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.       ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.       ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.       ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.       ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.       ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.       ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.    ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท

         จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์
ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
 บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน  เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมาย
ก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

อินเทอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย
         อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์วารสาร รายการทางโทรทัศน์ และวิทยุต่างๆ
ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสารธารณะในแง่มุมต่างๆ มีทั้งนำเสนอเรื่องราวที่เป็นแง่บวกและลบ 
จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณากันให้ถี่ถ้วนมายิ่งขึ้น แนวโน้มของการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากขิ่งขึ้นและในรูปแบบ
ที่หลากหลายมากว่าเดิม การห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแต่ละสังคมหรือประเทศนั้น
จำเป็นต้องมีการดำเนินการบางประการเพื่อให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีไม่ถูกกลืนหรือสูญหายไปจากสังคม วิธีการหนึ่งก็คือการส่งเสริม
และให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทำได้ง่าย และได้กลุ่มผู้รับข่าวสารมากยิ่งขึ้น
การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ผลกระทบทางด้านบวก เช่น สามารถได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น
ทำให้ประชาชนมีความรู้ สามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ปละทันสมัย ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต และยังทำให้
สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง สำหรับผลกระทบทางด้านลบ เช่น อาจจะทำให้เยาวชน
ได้รับข้อมูลหรือภาพในทางที่ไม่ดีได้ ดังนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องช่วยดูและบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น ดูแลให้ใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส
์หรือการสนทนาบนเครือข่าย แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ด้วยความรอบคอบ  ควรตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ สนทนาใน
เรื่องที่เป็นประโยชน์ และต้องตระหนักถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในเรื่องของเวลา และเนื้อหาที่ใช้ในการสนทนาด้วย

ข้อควรระวัง การใช้งานอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในเรื่องของการรับข้อมูลข่าวสารได้
ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องโรคระบาดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
คนที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถรับทราบข่าวนี้ได้ และมีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันโรคระบาดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับตน
แต่คนที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่สามารถรับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ อาจจะเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ เทคโนโลยี
และความรู้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวป้องกันและติดโรคระบาดนี้ในที่สุด
จะเห็นว่าจากตัวอย่างนี้ เป็นผลกระทบของอินเทอร์เน็ตในเรื่องของความเสมอภาคในการรับข้อมูลข่าวสาร
ฉะนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเพียง
สื่อหนึ่งเหมือนกับสื่อทั่วไป สื่อจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้
แหล่งอ้างงอิง :  http://education.bodin.ac.th/ict_m2/page5_content5.html

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำตัว

ชื่อ เด็กหญิงจารุวรรณ  นาวงษ์  ชั้น ม. 2/1 เลขที่ 10 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนตากพิทยาคม 
ส่ง อ.พุธชาติ  มั่นเมือง