วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โซดาไฟ




โซดาไฟ (caustic soda) มีชื่ออีกชื่อหนึ่งที่เป็นทางการว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) (NaOH) เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเนื่องจากคุณสมบัติเป็นเบสแก่ ประกอบด้วยโลหะโซเดียมและเบสไฮดรอกไซด์ ใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ น้ำดื่ม สบู่ และผงซักฟอก นอกจากนั้นยังใช้ปรับสภาพน้ำทิ้งที่มีฤทธิ์เป็นกรด ให้เป็นกลางก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย

โซดาไฟบริสุทธิ์ มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ที่พบได้บ่อยจะทำเป็นเม็ด หรือทำเป็นสารละลายอิ่มตัวที่มีความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ โซดาไฟนี้ดูดความชื้นได้ดีมาก หากนำออกมาจากภาชนะบรรจุแล้วตั้งทิ้งไว้สักครู่มันจะดูดความชื้นจากอากาศ จากสภาพที่เป็นเม็ดแข็ง จะเริ่มเหลว เนื้อสารจะน้อยลง เพราะถูกเจือจางด้วยความชื้นนั่นเอง จึงควรเก็บโซดาไฟไว้ในขวดที่มีฝาปิดสนิท เมื่อเตรียมโซดาไฟบริสุทธิ์ให้เป็นสารละลายโดยการละลายน้ำ จะให้ความร้อนออกมาจึงต้องระมัดระวัง หากเตรียมความเข้มข้นสูงๆ ห้ามเตรียมในภาชนะพลาสติกเนื่องจากความร้อนที่เกิดจากการละลายด้วยน้ำ จะทำให้พลาสติกละลายได้ ความสามารถในการละลายของโซดาไฟจะลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้วได้อีกนอกจากน้ำ เช่น เอทานอล และเมทานอล ไม่สามารถละลายได้ใน อีเทอร์ หรือตัวทำละลายอื่นที่ไม่มีขั้ว

โซดาไฟมีคุณสมบัติเป็นสารไอออนิก ประกอบด้วย Na+ (sodium cation) และ OH- (hydroxide anion) โดย OH- จะทำให้มีคุณสมบัติเป็นเบสแก่ เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกลือ และน้ำ เอนทาลปีของการละลาย,Δ หรือความร้อนที่ได้จากการละลายมีค่าเท่ากับ –44.45 kJ / mol

ตัวอย่างปฏิกิริยาของโซดาไฟ

- ทำปฏิกิริยากับกรดได้ผลิตภัณฑ์เป็น เกลือและน้ำดังสมการ

NaOH(aq) + HCl(aq) NaCl(aq) + H2O(l)

- ทำปฏิกิริยากับ ออกไซด์ของกรด ใช้ประโยชน์ในการจับก๊าซที่เป็นกรด เช่น คาร์บอนได้ออกไซด์ หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากกระบวนการผลิต ก่อนปล่อยสู่บรรยากาศ

2 NaOH + CO2 Na2CO3 + H2O

- การแยกสลายด้วยไฟฟ้า (Electrolysis) ในสภาวะการหลอมเหลวโซดาไฟ ได้ผลิตภัณฑ์เป็น โลหะโซเดียม ก๊าซออกซิเจน และน้ำ ซึ่งการทดลองภายในห้องปฏิบัติการจะต้องทำภายใต้เงื่อนไขที่ระมัดระวังเป็นพิเศษ

4 NaOH·H2O(l) 4 Na(l) + O2(g) + 6 H2O(g)




วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีเด็ดช่วยจำศัพท์อังกฤษ

“คำศัพท์” ถือเป็นปัจจัยสำคัญสู่การส่งเสริมทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน "ภาษาอังกฤษ" ยิ่งวัยเรียนมีคลังคำศัพท์ในความจำมากเท่าไหร่ ยิ่งสามารถหยิบจับมาใช้ได้สะดวกเท่านั้น แต่อุปสรรคส่วนใหญ่ที่หลายคนมักประสบจนพาลขี้เกียจเรียนรู้ไปเลย นั่นคือ “นึกศัพท์ไม่ออก” หรือ “แปลศัพท์ไม่ได้” ซึ่งแท้จริงแล้วปัญหาดังกล่าวแก้ได้ไม่ยาก เพียงฝึกฝนสม่ำเสมอด้วยเทคนิคต่อไปนี้


เรียนคำศัพท์จาก “ชีวิตประจำวัน” อาจเริ่มในสิ่งที่สนใจก่อน เช่น ฟังเพลง ดูหนัง หรือเมื่อพบข้อความตามสื่อต่างๆ ควรหมั่นอ่านอยู่ตลอดแม้ไม่รู้เรื่องทุกถ้อยคำ นอกจากจะช่วยสร้างความคุ้นเคยกับศัพท์มากมายแล้ว ยังเป็นการทบทวนความหมายของคำที่พบบ่อยๆ ด้วย
เรียนคำศัพท์จาก “พจนานุกรม” โดยพกขนาดกะทัดรัดติดตัวไว้เปิดหาความหมายเมื่อเกิดข้อสงสัย ทั้งนี้ ควรเลือกใช้แบบอังกฤษ-อังกฤษ เพื่อฝึกทักษะการแปล หากมีตัวอย่างการใช้ศัพท์ด้วยจะดีทีเดียว

เรียนคำศัพท์จาก “กระดาษโน้ต” ด้วยการจดศัพท์ พร้อมคำแปลอย่างน้อยวันละ 10 คำ แล้วแปะไว้ในที่ ๆ มองเห็นได้ง่าย เช่น กระจกโต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะหนังสือ ตู้เย็น ผนังห้องนอน ฯลฯ โดยเมื่อกระทบสายตาเมื่อไหร่ให้ท่องเมื่อนั้น เป็นอีกหนึ่งเทคนิคช่วยจำได้ดี ขณะเดียวกัน ยังช่วยฝึกทักษะการเขียนอีกด้วย

เรียนคำศัพท์จาก “การจัดหมวดหมู่” โดยจำศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กัน หรือมีความหมายตรงข้ามกัน จากนั้น ลองนึกถึงคำภาษาไทย แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก่อนจะแต่งประโยค เพื่อฝึกการเรียบเรียงต่อไป

             หลักการจำคำศัพท์ที่สำคัญ อีกประการ คงต้องอยู่ที่ความขยัน และหมั่นทบทวน เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้อย่างเห็นผลนั่นเอง
ค้นหาวันอังคาร ที่ 23 สิงหาคม 2554
จากเว็บไซต์ :http://www.clickforclever.com/library/115/วิธีเด็ดช่วยจำศัพท์อังกฤษ.html


วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ค้นหาเหรียญปลอม หาได้ไหมเอ่ย?

           มีเหรียญบาทอยู่ 9 เหรียญ เป็นเหรียญปลอม 1 เหรียญ ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าเหรียญจริง จงหาวิธีในการหาเหรียญปลอมโดยชั่งด้วยตาชั่ง 2 แขน ให้มีจำนวนครั้งในการชั่งน้อยที่สุด (ให้เขียนอธิบายวิธีการหาหรือวิธีการชั่งให้ละเอียด โดยการโพสลงในส่วนแสดงความคิดเห็น กรุณาใสชื่อผู้โพสด้วยนะจ๊ะ)

ที่มา : การแก้ปัญหา สสวท.

วิธีคิด

ในเหรียญทั้งหมดตามโจทย์จะมี 9 เหรียญ ดังนั้นจึง แบ่งเป็น 2 ข้าง แต่มีอยู่ 9 เหรียญ ก็เอาเหรียญออก 1 เหรียญ ดังนั้นก็จะเหลือ   9 - 1 = 8 เหรียญ
  - นำเหรียญทั้ง 8 เหรียญ มาแยกเป็น 2 กอง = 8/2 =4
(ครั้งที่ 1) ชั่งเหรียญที่ได้แบ่งไว้ตามข้างต้น ถ้าข้างไหนมีน้ำหนักมากกว่าแสดงว่าข้างนั้นเป็นเหรียญจริงทั้งหมด 
  - จากนั้นจึงนำเหรียญทั้ง 4 เหรียญมาแยกเป็น 2 กองอีกครั้ง = 4/2 = 2 เหรียญ : 2 กองที่จะชั่งบนตาชั่ง
(ครั้งที่ 2) ชั่งเหรียญที่แบ่งไว้ซึ่งใช่กฎเดิมว่าถ้ากองไหนตาชั่งโน้มลงมากกว่าแสดงว่ากองนั้นเป็นเหรียญจริง
  -ก็จะเหลืออีก 2 เหรียญจากการชั่งโดยตาชั่งจากครั้งที่ 2 ดังนั้นก็แบ่งเป็น 2 กองอีกครั้ง = 2/2 = 1 เหรียญ : 1 กองที่จะชั่งบนตาชั่ง
(ครั้งที่ 3) นำเหรียญทั้ง 2 มาชั่งซึ่งถ้าเหรียญไหน โน้มลงน้อยกว่าอีกเหรียญนึงแสดงว่าเหรียญนั้นเป็นเหรียญปลอม!!

เด็กหญิงจารุวรรณ  นาวงษ์  ชั้น ม.2/1 เลขที่  10
เยี่ยมชมบล็อกได้ที่ http://jaruwansme-tps.blogspot.com

flow chart ด.ญ.จารุวรรณ นาวงษ์ 10_2+1